ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ความหมายของ Plickers




Plickers (Paper + Clicker) เป็นเครื่องมือในการช่วยสอนสำหรับเก็บข้อมูลของนักเรียน โดยจะมีกระดาษเป็นโค้ดให้นักเรียนถือ ซึ่งกระดาษดังกล่าวจะมีด้านที่ต่างกันทั้ง 4 ด้าน และมีตัวเลขเฉพาะของนักเรียนแต่ละคนอยู่ที่มุมกระดาษ  เมื่อครูได้เปิดคำถามที่ได้สร้างขึ้นผ่านทาง plickers.com ให้นักเรียนได้รับทราบ และร่วมกันตอบคำถามโดยการชูกระดาษโค้ดในด้าน A, B ,C หรือ Dตามที่คิดว่าถูกต้องจากนั้นครูจะใช้สมาร์ทโฟนเปิดแอป Plickers (สามารถดาวน์โหลดได้ทั้งใน iOS และ Android) เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลจากเว็บplickers.com แล้วเปิดกล้องเพื่อสแกนโค้ดที่นักเรียนถือ


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ข้อจำกัดของ Plickers

ข้อจำกัด 1.นักเรียนอาจไม่เข้าใจวิธีการใช้งาน ครูผู้สอนควรมีการเเนะนำวิธีการใช้งานก่อนที่จะนำไปใช้จริง 2. ในกรณีที่นักเรียนไม่นำโค้ดมา  นักเรียนก็จะไม่ได้สเเกนโค้ดเข้าชั้นเรียน เเละจะต้องไปปริ้นรหัสโค้ดใหม่ 3.ถ้านักเรียนขาดความรับผิดชอบ นักเรียนก็จะไม่มีความสนใจเเละไม่นำโค๊ดมาเรียนเเละทำกิจกรรม

ประโยชน์ของ Plickers

ประโยชน์ของ Plickers ในด้านการจัดการเรียนการสอน (ต่อครูผู้สอน)     1. ช่วยให้ครูผู้สอนประหยัดเวลาในการเช็คชื่อนักเรียน      2. ช่วยให้ครูผู้สอนได้เรียนรู้เเละพัฒนาตนเองในด้านการใช้เทคโนโลยีรูปเเบบใหม่ที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ     3. ช่วยให้ครูผู้สอนบรรลุผลสำเร็จในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เนื่องจาก เด็กจะมีความสุขเเละให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมได้อย่างเต็มความสามารถ ประโยชน์ของ Plickers ในด้านการจัดการเรียนการสอน (ต่อนักเรียน)       1. ช่วยให้นักเรียนเกิดความกระตือรือร้นในการมาโรงเรียนเเละการทำกิจกรรมการเรียนรู้       2. ช่วยให้นักเรียนได้ฝึกการใช้เทคโนโลยีควบคู้ไปกับการเรียนได้อย่างมีคุณภาพ       3. ช่วยให้นักเรียนมีความสุขกับการเรียนเเละมีความมุ่งมั่น สนใจการเรียนมากยิ่งขึ้น

การประยุกต์ใช้ Plickers กับการจัดการเรียนการสอน

Plickers  นอกจากจะใช้ในการเช็คชื่อนักเรียนในการเข้าชั้นเรียนหรือการทำกิจกรรมการเรียนการสอนเเล้ว ยังสามารถใช้สร้างเป็นเกมหรือคำถามที่สามารถออกเเบบได้ตามความสนใจ ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนอยากตอบคำถาม เเละรู้จักการใช้เทคดนโลยีได้อย่างคุ้มค่า ใช้ได้ ใช้เป็นเเละใช้อย่างเกิดประโยชน์             ในการนำ Plickers ไปประยุกต์กับการจัดการเรียนการสอนนั้น ครูผู้สอนจะต้องศึกษาเเละทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีใช้ เเละการนำเสนอเพื่อให้นักเรียนเข้าใจ ครูผู้สอนสามารถนำไปใช้ได้กับทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ อาทิ สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการตอบคำถามการบวกลบเลข การเเก้โจทย์ปัญหา สาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เรื่อง การจัดหมวดหมู่คำศัพท์ สาระการเรียนรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ เรื่องการทดลอง สาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องสำนวนสุภาษิต คำพังเพย สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา เรื่อง น่ารู้อาเซียน เเละสาระการเรียนรู้อื่นๆ เช่น สาระการเรียนรู้สุขศึกษาเเละพลศึกษา สาระการเรียนรู้การงานอาชีพเเละเทคโนโลยีเเละสาระการเรียนรู้ดนตรีเเละศิลปะ เป็นต้น          ...